ข้อคิดจากหนังสือ กล้าที่จะถูกเกลียด
คุณกล้าที่จะถูกเกลียดไหม? เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คิดว่าการสร้างสัมพันธุ์ที่ดี คือ การพยายามทำดีกับคนอื่นให้มาก แต่ยิ่งทำดีกับคนอื่นมากเท่าไร บางครั้งก็ต้องทิ้งความต้องการหรือความเป็นตัวเองมากขึ้นตามไปด้วย เพราะไม่อยากโดนคนอื่นเกลียดจนไม่มีใครคบ วันนี้วันนี้เราไม่ได้มาแนะนำให้ทำตัวไม่ดี หรือทำตัวน่ารังเกียจ เพียงแค่จะมาบอกถึงแนวคิด “กล้าที่จะถูกเกลียด” หนังสือแนวปรัชญาที่ถูกเขียนโดย อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) นักจิตวิทยาผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งการพัฒนาตนเอง และได้กลายเป็นคัมภีร์ที่ชาวญี่ปุ่นหลายคนนำไปใช้ และถูกบอกเล่าต่อ โดย คิชิมิ อิชิโร และ โคะกะ ฟุมิทะเกะ ผ่านบทสนทนาระหว่างชายหนุ่มที่ชีวิตรุมเร้าไปด้วยปัญหาต่าง ๆ ซึ่งสำหรับใครที่กำลังอยากเปลี่ยนแปลงตนเอง เพราะรู้สึกเหนื่อยใจจากสิ่งกดดันรอบตัว เหนื่อยล้าจากความคาดหวังของคนรอบข้าง เปลี่ยนมาลองใช้ความกล้าที่จะถูกคนอื่นเกลียด เพื่อให้ได้อิสรภาพในการใช้ชีวิต โดยเนื้อหาในหนังสือได้แบ่งออกเป็น
- อย่าเชื่อเรื่องแผลใจ
- ความทุกข์ใจทั้งหมดล้วนเกิดจากความสัมพันธ์
- ตัดเรื่องของคนอื่นทิ้งไปเสีย
- ศูนย์กลางของโลกอยู่ตรงไหน
- ใช้ชีวิต ณ วินาทีนี้อย่างจริงจัง
ซึ่งเราได้นำบทสรุปข้อคิดมาให้แล้ว ดังต่อไปนี้
เราไม่ใช่ศูนย์กลางจักรวาล
หลายครั้งที่เราอาจทำตัวเหมือนเป็นศูนย์กลางจักรวาล ความคิดของเราถูกเสมอ การกระทำของเราเป็นสิ่งที่ถูกต้อง คนอื่นควรคิดหรือทำเหมือนเรา หรือต้องทำอะไรเพื่อเรา ความคิดและการกระทำเช่นนี้จะสร้างความคาดหวัง ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดเพราะผิดหวังจากการกระทำของผู้อื่นได้ง่าย
เลิกคิดอยากให้ทุกคนยอมรับ
หลายครั้งที่ความทุกข์ของเรานั้นเกิดจากการที่ต้องการให้คนอื่นยอมรับ จนทำให้เราต้องใช้ชีวิตในแบบที่คนอื่นอยากให้เป็น ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์เป็นสิ่งเชื่อมโยง เพราะเมื่อได้รับการยอมรับจากคนอื่น ทำให้รู้สึกถึงการมีความสำคัญกับคนอื่น แต่ต้องแลกกับความอิสระกับสิ่งที่ตนต้องการจริง ๆ ไม่ใช่ให้เป็นคนเห็นแก่ตัว เพียงแค่อย่าเดินตามความต้องการคนอื่นเพียงเพราะให้เขายอมรับ หรือเพื่อรักษาความสัมพันธ์จนลืมทำร้ายจิตใจตนเอง เพราะไม่มีใครที่จะยอมทำได้ทุกอย่างเพื่อเรา นอกจากตัวเราเอง
ยอมรับตนเอง ไม่ใช่มั่นใจตนเองจนผยอง
การมั่นใจตนเองจนเกินไป คิดว่าตนสามารถทำอะไรในสิ่งที่เป็นไม่ได้ จนอาจทำให้กลายเป็นคนหลงตนเอง แต่การยอมรับในตนเอง คือ การยอมรับในสิ่งที่ตนไม่สามารถทำได้จริง ๆ อย่างตรงไปตรงมา และพยายามที่จะพัฒนาตนเองให้ถึงที่สุด
เราไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันผู้อื่น
มีคนจำนวนไม่น้อยที่มักจะเผลอนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับชีวิตของคนอื่น จนลืมไปว่าเราทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าจะต่างกันแค่ไหนในฐานะหรือสังคม ทุกคนย่อมมีความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ จึงไม่จำเป็นต้องไปแข่งขันกับใคร เป็นให้ได้อย่างใคร เพียงแค่ดำเนินชีวิตและสามารถก้ลืมที่าวต่อไปได้ก็เพียงพอแล้ว
ทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงได้
หลายคนมัวแต่หลงยึดติดในอดีต จนไม่สามารถก้าวต่อไปข้างหน้าในอนาคตได้ หรือบางคนอาจมัวแต่มุ่งเป้าความสำเร็จมากเกินไป จนลืมนึกไปว่าว่าทุกสิ่งในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดแน่นอน
พึงมีความสุขอยู่กับปัจจุบัน
ความเมตตา การให้ความช่วยเหลือเป็นสิ่งที่ดีที่มนุษย์พึงมี และแก่นแท้ของการให้ที่แท้จริงจะทำให้เกิดความสุขใจแก่ผู้ให้ ดังนั้น พึงให้การช่วยเหลือในสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกสุขใจเมื่อได้ช่วย จึงจะเป็นการใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุขในฐานะผู้ให้อย่างแท้จริง
กล้าที่จะเป็นคนธรรมดา
ทุกคนอยากเป็นคนพิเศษ อยากเป็นคนสำคัญ ไม่มีใครอยากเป็นคนไร้ค่าหรือเป็นคนไม่มีตัวตนในสายตาใคร แต่ในความเป็นจริง ชีวิตของคนเราล้วนแต่มีความธรรมดาเป็นที่ตั้ง หากเรายอมรับให้ได้ว่าชีวิตก็แค่นี้เอง เป็นคนธรรมดาที่มีความสุขแบบธรรมดาทั่วไป ไม่ต้องไปตั้งกฏเกณฑ์อะไรมากมายในชีวิต ไม่ต้องไปแข่งขัน ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับใคร เมื่อไรที่เรายอมรับกับความเป็นคนธรรมดาทั่วไป ก็ทำให้สามารถพบความสุขแบบธรรมดาได้ทุกวันอย่างง่ายดาย